World Tsunami Awareness Day
เมื่อปี 2015 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 5 พฤศจิกายน เป็นวันตระหนักรู้ภัยสึนามิโลก (World Tsunami Awareness Day) เพื่อให้แต่ละประเทศ องค์กรท้องถิ่นและนานาชาติ รณรงค์สร้างการรับรู้และแบ่งปันนวัตกรรมหรือแนวทางในการลดความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยสึนามิ
สึนามิ เป็นเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้น้อยแต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดขึ้น จะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา พบว่าเกิดสึนามิมาแล้ว 58 ครั้ง และคร่าชีวิตมนุษย์ไปแล้วกกว่า 260,000 ราย หรือ เฉลี่ย 4,600 รายต่อครั้งในทั่วโลก ซึ่งมากกว่าภัยธรรมชาติอื่น ๆ ทั้งนี้ มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในเดือนธันวาคม 2004 แถบมหาสมุทรอินเดีย ครั้งนั้น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 227,000 รายใน 14 ประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย ศรีลังกา อินเดีย และไทย ซึ่งได้รับแรงกระแทกสูงสุด
สึนามิ คือ อะไร
คำว่า สึนามิ เกิดจาก 2 คำในภาษาญี่ปุ่น ได้แก่ สึ แปลว่า อ่าว และ นามิ แปลว่า คลื่น ดังนั้น สึนามิ จึงหมายถึง ระลอกคลื่นขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากความไม่สงบใต้น้ำ มักเกี่ยวข้องกับ แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นใต้พื้นดินหรือเหนือพื้นผิว
การปะทุภูเขาไฟ การพังทะลายของดินใต้น้ำ การตกหล่นของหินชายฝั่งทะเล สามารถก่อให้เกิดภัยสึนามิได้เหมือนกับการเกิดอุกาบาตตกในทะเล อันทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในแนวดิ่งของพื้นทะเลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดมวลน้ำมหึมากระจายไปทั่ว
คลื่นสึนามิ จะเป็นเหมือนกำแพงน้ำขนาดใหญ่และพุ่งตรงมายังชายฝั่ง สร้างความเสียหายเป็นระยะเวลานาน โดยแต่ละคลื่นจะถาโถมเข้ามายังชายฝั่งทุก ๆ 5 – 60 นาที
ชมคลิปข่าวภัยสึนามิจาก CNN ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=R0l6z0HaUAM