จากการแพร่ระบาดของโรคอีโบลาจากแอฟริกาที่ลุกลามไปทั่วโลก สิ่งหนึ่งที่นักสื่อสารและประชาสัมพันธ์ได้รับการเรียนรู้จากกรณีนี้คือ การบริหารสื่อสาร เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยบรรเทาการแพร่ระบาด แต่ยังช่วยชีวิตคนได้อีกหลายชีวิต
บทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์นี้ สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 5 ข้อ ได้แก่
1. ระมัดระวังเรื่องอุปสรรคด้านการสื่อสาร
ความท้ายทายในการสื่อสารของอีโบลานี้คือ ความรวดเร็วของการแพร่กระจายของโรคจากแอฟริกาใต้ไปยังส่วนต่างๆ ของโลก ดังนั้น การสื่อสารจะต้องมีความรวดเร็ว ชัดเจน และพิจารณาในองค์ประกอบต่างๆ อย่างครบถ้วน
อุปสรรคในการสื่อสารที่สำคัญ ที่ต้องพึงระวัง ได้แก่ การให้ข้อมูลที่ผิดพลาด ความสามารถในการอ่านหรือฟังข่าวสารของกลุ่มเป้าหมาย การใช้คำศัพท์เฉพาะด้านที่ยากต่อความเข้าใจ เป็นต้น นักสื่อสารจำเป็นต้องทำความเข้าใจในสารที่ต้องการจะเผยแพร่ก่อน ขณะเดียวกัน ต้องเรียนรู้ว่า กลุ่มเป้าหมายนั้นๆ จะรับฟังข่าวสารนั้นอย่างไร ตีความข่าวสารนั้นอย่างไร เพราะสิ่งหนึ่งที่พบคือ ความเข้าใจของคนในเมืองใหญ่นั้น แตกต่างจาก ความเข้าใจของคนในเมืองเล็ก หรือ ชุมชนเล็กๆ
2. ให้เหตุผลแก่กลุ่มเป้าหมายว่าควรพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะการรับฟัง หรือการบอกต่อไปยังบุคคลอื่น
ให้เหตุผลแก่กลุ่มป้าหมายว่า ทำไมจะต้องระมัดระวังในการรับฟังหรือเผยแพร่ข่าวสารนั้นไปให้ผู้อื่น เพราะข้อมูล ข่าวสาร จะต้องกลั่นกรองอย่างเป็นเหตุผลจากแหล่งข่าวสารที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีข่าวการแพร่กระจายอีโบลา จะส่งผลกระทบไปยังภาพรวมของเศรษฐกิจระดับโลก หากมีความผิดพลาดหรือข่าวลือหรือข่าวลวงต่างๆ ออกไป
3. ย้ำจุดยืนของภารกิจขององค์กร
จงชัดเจนในจุดหมายขององค์กรว่า ต้องการจะทำอะไร เช่น ต้องการช่วยเหลือ หรือต้องการระดมทุน เพราะการสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยให้เป้าหมายของการดำเนินงานนั้นสำเร็จได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
เพราะหลายครั้งการกระทำที่ไม่ชัดเจน อาจจะส่งผลต่อความเข้าใจของกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ชัดเจน และอาจทำร้ายกลุ่มเป้าหมายหรือองค์กรได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำภาพหรือข้อความที่สะเทือนอารมณ์หรือภาพความโหดร้ายต่างๆ มาใช้การสื่อสาร หากองค์กรไม่ชัดเจนว่าเป้าหมายต้องการอะไร การนำภาพต่างๆเหล่านี้ มาใช้อาจส่งผลร้ายเกินที่จะคาดเดาก็ได้ เช่น การนำภาพผู้ป่วยอันแสนโหดร้ายของอีโบลามาเผยแพร่ อาจทำให้เกิดความตระหนกและกังวลเกินเหตุในกลุ่มคนภายในประเทศและประเทศใกล้เคียง สิ่งที่ควรนำมาใช้การสื่อสาร หากเป็นองค์กรด้านสุขภาพ ควรจะเป็นภาพที่มีการควบคุม หรือดูแลโรคภายใต้พื้นที่ที่กำหนดไว้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมและกักกันโรค เพื่อป้องกันการกระจายของโรค
4. ระมัดระวังในการเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารจากกลุ่มพันธมิตร
เมื่อใดก็ตามที่คุณกำลังช่วยเหลือหรืออยู่ในภาวะวิกฤต สิ่งหนึ่งที่จำเป็นที่สุดคือ การใช้เวลาในการตรวจสอบหรือหาข้อมูลที่ถูกต้อง
หลายครั้งองค์กรจะต้องมีพันธมิตรด้านข้อมูลที่เชื่อถือและไว้ใจได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากองค์กรการกุศล องค์กรระดับนานาชาติ องค์กรสื่อ หรือองค์กรในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน หรือ แม้แต่คนดังหรือผู้มีชื่อเสียง
5. ใช้สื่อสังคมออนไลน์ละเทคโนโลยีต่างๆ อย่างเหมาะสม
สื่อสังคมออนไลน์ถูกใช้ในการกระจายหรือเผยแพร่ข่าวสารของอีโบลาเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หน่วยงานด้านสุขภาพ องค์กรการกุศลต่างๆ ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ข้อมูลแบบทันต่อเหตุการณ์ หรือ realtime และด้วยเครื่องมือนี้ ทำให้เกิดการรับรู้และการสนับสนุนอย่างทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้ใช้เป็นช่องทางหลักเพียงรายเดียว เพราะช่องทางนี้ ทุกคนจะต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ทำให้ไม่ได้ออกมาช่วยสังคมอย่างแท้จริง ดังนั้น การใช้สื่ออื่นๆร่วมด้วย ไม่ว่า จะเป็นกิจกรรมรณรงค์ การใช้สื่อบิลบอร์ด การส่ง SMSโทรทัศน์ วิทยุ ก็จะช่วยการเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกัน โดยพิจารณาจากกลุ่มเป้าหมายเป็นสำคัญว่าจะได้รับข้อมูล
การระบาดของโรคอีโบลา ได้พิสูจน์แล้วว่า การสื่อสารที่ดีจะช่วยให้เกิดการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพด้านข้อมูล ด้านการสนับสนุน ด้านการให้ความรู้แก่ประชาชน จนถึงการได้รับการช่วยเหลือและบริจาคเงิน