fbpx

แนวทางสื่อสารองค์กร กรณีสงครามอิสราเอล

ตลอดระยะเวลาสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั่วโลกต่างนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับประเทศอิสราเอล กลุ่มติดอาวุธฮามาสทำการโจมตีประเทศอิสราเอลอย่างรุนแรง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้ชาวอิสราเอลและปาเลสไตน์เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คนในไม่กี่วัน ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทำให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกตอบสนองและออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสงครามนี้ หลายองค์กรแสดงความเห็นใจและประหลาดใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่บางองค์กรเลือกที่จะเงียบและรอดูสถานการณ์ บางองค์กรแสดงถึงความเจ็บปวดและความสูญเสีย รวมทั้งประณามการโจมตีที่เกิดขึ้น สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นบทเรียนที่เหล่าองค์กรไทยได้เรียนรู้และเป็นบทเรียนในอนาคต

สรุปสถานการณ์

ขณะนี้มีสงครามอยู่ระหว่างประเทศอิสราเอลและกลุ่มติดอาวุธฮามาส โดยเหตุการณ์ล่าสุดเกิดขึ้นในวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โดยกลุ่มฮามาสได้โจมตีฉนวนกาซาที่อิสราเอลครอบครัวอยู่ และทำให้ผู้คนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตไปกว่า 2,000 ราย ในจำนวนนี้มีคนไทย 18 ราย ปัจจุบันอิสราเอลได้ปิดกั้นชายแดนและหยุดส่งพลังงานไฟฟ้า อาหาร และเชื้อเพลิงไปทั้งหมด

การแสดงจุดยืนหรือมุมมองต่อสถานการณ์ดังกล่าวขององค์กร

กรณีที่ 1 เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือองค์กรได้รับผลกระทบ

หลายองค์กร ไม่ได้กล่าวถึงสงครามอิสราเอลโดยตรง แต่เน้นถึงการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่อาจได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจสายการบิน ประกาศหยุดเที่ยวบินไป-กลับจากเทลอาวีฟ เมืองหลวงของประเทศอิสราเอล และออกคำแถลงเกี่ยวกับสถานการณ์ในท้องถิ่น

กรณีที่ 2 CEO สะท้อนค่านิยมขององค์กร

ผู้บริหารระดับสูงหลายองค์กรประกาศแถลงการณ์ต่อสาธารณชนในสถานการณ์ดังกล่าว หลากหลายประเด็น เช่น JPMorgan Chase แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นและหวังให้เกิดความสงบ สันติภาพในตะวันออกกลาง Goldman Sachs แสดงความตกใจต่อสถานการณ์ดังกล่าวและสะท้อนค่านิยมขององค์กรที่ต่อต้านในเรื่องความรุนแรง โดยทั้งสองหน่วยงานให้ความสำคัญต่อพนักงานในการทำงานในพื้นที่ปลอดภัยเหมือนอยู่บ้าน เช่นเดียวกับ Pfizer สะท้อนปณิธานขององค์กรที่มุ่งมั่นในการปกป้องชีวิตและช่วยเหลือผู้คน โดยสถานการณ์ดังกล่าวขัดแย้งต่อค่านิยมหลักขององค์กร ท้ายที่สุด ManpowerGroup ได้แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียและองค์กรให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

กรณีที่ 3 แสดงจุดยืนต่อต้านความรุนแรงของสงคราม

หลายองค์กรแสดงการสนับสนุนอิสราเอลและประณามการโจมตีของผู้ก่อการร้ายผ่านสื่อในประเด็นต่าง ๆ เช่น การส่งกำลังใจ การตำหนิการโจมตีของกลุ่มติดอาวุธฮามาส การแสดงแนวทางความช่วยเหลือต่อสถานการณ์ดังกล่าว

ปัจจุบัน สถานการณ์ดังกล่าวยังไม่สิ้นสุด ประชาคมโลกยังคงต้องติดตามและเรียนรู้เพื่อถอดบทเรียนสำคัญต่าง ๆ ต่อไป

เรียบเรียงโดย

sarawut burapapat

สราวุธ บูรพาพัธ

สราวุ​ธ เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารในธุรกิจพลังงาน สินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจความงาม ธุรกิจบริการ และศูนย์การเรียนรู้ ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติกว่า 20 ปี มีความเชี่ยวชาญในการวางแผนการสื่อสารแบบองค์รวม เพื่อสนับสนุนแผนการตลาดหรือสร้างภาพลักษณ์ให้แก่องค์กร รวมทั้ง บริหารจัดการสื่อสารภาวะวิกฤต

จบการศึกษาระดับปริญญาโท และปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ้างอิงข้อมูลจาก

  • สงครามอิสราเอล-ฮามาส: เรารู้อะไรบ้าง จากสงครามครั้งใหม่อิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่คร่าชีวิตผู้คนเฉียด 1,590 ราย อาจรวมคนไทย 18 ราย https://www.bbc.com/thai/articles/crg190lw099o
  • สรุปสงครามอิสราเอลวันที่ 4 ตายทะลุ 1,700 ศพ ฮามาสขู่สังหารตัวประกัน https://www.thairath.co.th/news/foreign/2731989
  • อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกองทัพอิสราเอลและกลุ่มฮามาสจะนำมาซึ่งสันติภาพถาวรหรือเปล่า ? https://www.bbc.com/thai/international-57212017
  • สรุปเหตุการณ์ฮามาสโจมตีหนัก อิสราเอลประกาศภาวะสงคราม https://www.thaipbs.or.th/news/content/332576
  • อิสราเอล-ปาเลสไตน์ : ปะทะดุเดือดในการสู้รบวันที่ห้า https://www.bbc.com/thai/international-57097731

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *